น้ำท่วม
น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ
คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ
น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ
ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน
ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล
แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้
เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น
น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้
เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด
(meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ
ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น
หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ
การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า
มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวลา
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม
ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่ และความวิปริตผันแปรของธรรมชาติ แต่ในบางท้องที่
การกระทำของมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญ ในการทำให้ภาวะการเกิดอุทกภัยนั้น
มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังต่อไปนี้
๑.
น้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก
น้ำฝน เป็นต้นกำเนิดของน้ำที่ปรากฏบนผิวโลก
เมื่อฝนตกลงมาบนผิวดิน จะมีน้ำบางส่วนขังอยู่บนผิวดิน และบางส่วน
ซึมลงไปสะสมอยู่ในดิน ครั้นเมื่อมีฝนตกมากขึ้น น้ำจะไม่สามารถซึมลงไปในดิน
หรือขังอยู่บนผิวดินได้หมด จึงเกิดน้ำไหลนองไปบนผิวดิน
ซึ่งรวมแล้วจะมีปริมาณมากหรือน้อย สัมพันธ์กับปริมาณ และพฤติกรรมของฝนที่ตกเสมอ
จากนั้น น้ำจะไหลลงสู่ที่ลุ่มต่ำ ลำน้ำลำธาร แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ และทะเลต่อไป
๒.
ลักษณะและส่วนประกอบของพื้นที่ลุ่มน้ำ
๒.๑ รูปร่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ
๒.๒ สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ลุ่มน้ำ
๒.๓ ชนิดของดิน สภาพพืชที่ขึ้น
ปกคลุมพื้นที่และความเสื่อมโทรมของพื้นที่ลุ่มน้ำ
๓.
น้ำทะเลหนุน
โดยทั่วไป
พื้นที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าว หรือทะเลไม่ไกลนัก
ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณนั้น มักจะอยู่ในอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง
อันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำคราวใด
มีปริมาณมาก และตรงกับฤดูกาล หรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ
ก็จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัย แก่พื้นที่ทำการเกษตร
และในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงเสมอมา
๔.
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
พื้นที่หลายแห่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
เนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมของพื้นที่บริเวณนั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม
๔.๑ การขยายตัวของเขตชุมชน
และการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
๔.๒ แผ่นดินทรุด
น้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุด
ด้านล่างเป็นรายการน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดทั่วโลก
แสดงถึงเหตุการณ์ที่มียอดผู้เสียชีวิตเกิน 200,000 คน
ยอดผู้เสียชีวิต
|
เหตุการณ์
|
ประเทศ
|
ปี
|
2,500,000–3,700,000
|
พ.ศ.
2474
|
||
900,000–2,000,000
|
จีน
|
พ.ศ.
2430
|
|
500,000–700,000
|
จีน
|
พ.ศ.
2481
|
|
230,000
|
หลายประเทศรอบมหาสมุทรอินเดีย
|
พ.ศ.
2547
|
วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
น้ำท่วม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
เนื่องจากฝนตกในพื้นที่ลุ่มมีปริมาณมากและตกติดต่อกันเป็นเวลานาน
จนเกิดน้ำไหลบ่ามาตามผิวดินลงสู่ร่องน้ำ ลำธารและแม่น้ำนั้น
หากลำน้ำตอนใดไม่สามารถรับปริมาณน้ำได้ก็จะบ่าท่วมตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ต่าง ๆ
หรือชุมชนที่ไม่มีการระบายน้ำที่สมบูรณ์ และการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น
เมื่อเกิดฝนตกหนักเป็นเวลานานๆ ในแต่ละครั้ง
มักประสบปัญหาทำให้เกิดน้ำท่วมขังบนพื้นที่ หรือ ที่เรียกว่า “อุทกภัย” ซึ่งทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูกและทรัพย์สินต่างๆ
1. เขื่อนกักเก็บน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนต่างๆ
ด้วยการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ หลายพื้นที่ด้วยกัน เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จังหวัดลพบุรี และเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัด นครนายก
ซึ่งทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้นี้จะระบายน้ำออกจากแหล่งกักเก็บน้ำทีละน้อยๆ เพื่อนำ
มาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการเพาะปลูกในช่วงเวลาฝนไม่ตก
หรือช่วงฤดูแล้ง ครั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปีต่อไป เขื่อนก็จะมีปริมาณพื้นที่รองรับน้ำจำนวนมาก
เข้ามาเก็บไว้ ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างรวมถึง
กรุงเทพมหานคร
2 ทางผันน้ำ การก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมมีหลักการอยู่ว่า
จะผันน้ำในส่วนที่ไหลล้นออกไปจากลำน้ำ โดยตรง
ปล่อยน้ำส่วนใหญ่ที่มีระดับไม่ล้นตลิ่งให้ไหลอยู่ในลำน้ำเดิมตามปกติ
วิธีการนี้จะต้องสร้างอาคารเพื่อควบคุมและบังคับน้ำบริเวณ
ปากทางให้เชื่อมกับลำน้ำสายใหญ่
และกรณีต้องการผันน้ำทั้งหมดไหลไปตามทางน้ำที่ขุดใหม่
ควรขุดลำน้ำสายใหม่แยกออกจากลำน้ำสาย
เดิมตรงบริเวณที่ลำน้ำเป็นแนวโค้งและระดับน้ำของคลองขุดใหม่จะต้องเสมอกับท้องลำน้ำเดิมเป็นอย่างน้อย
หลังจากนั้นก็ปิดลำน้ำสายเดิม
ตัวอย่างเช่น การผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยทางตะวันตก
ผันเข้าแม่น้ำท่าจีน แล้วผันลงสู่บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนระบายออกสู่ ทะเล
ส่วนด้านตะวันออกผันน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์เข้าสู่คลอง 13 จากนั้นระบายออกคลอง 14
โดยน้ำส่วนหนึ่งผันไปลงแม่น้ำบางปะกง
อีกส่วนหนึ่งลงคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตผ่านลงสู่คลองชายทะเล
หรือการผันน้ำออกสู่ทะเลโดยคลองสนามบิน คลองโคกเกลือ คลองบางเกวียนหัก คลองนิน
และคลองทะเลน้อย ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้น้ำท่วมตัวอำเภอหัวหิน จากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ประจวนคีรีขันธ์
เมื่อปี 2546
3. ปรับปรุงสภาพลำน้ำ โดยการขุดลอกลำน้ำในบริเวณที่ตื้นเขิน ตกแต่งติดตามตลิ่งที่ถูกกัดเซาะ
กำจัดวัชพืชหรือทำลายสิ่งกีดขวาง ทางน้ำไหลออกไปจนหมด
และกรณีลำน้ำมีแนวโค้งมากเป็นระยะไกล อาจพิจารณาขุดคลองลัดเชื่อมบริเวณ
ด้านเหนือค้างกับด้านท้ายโค้ง ซึ่งจะทำให้น้ำไหลผ่านได้เร็วขึ้น
ตัวอย่างเช่น โครงการขุดคลองลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ซึ่งทำให้ร่นระยะทางน้ำได้ถึง 17 กิโลเมตร ทำให้ระบายน้ำลงทะเลได้เร็วขึ้น
4. คันกั้นน้ำ เป็นวิธีป้องกันน้ำมิให้ไหลลงตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ให้ได้รับความเสียหายด้วยการเสริมขอบตลิ่งของลำน้ำให้มีระดับสูงมากขึ้นกว่าเดิม
เช่น การทำคันดินป้องกันน้ำท่วมบริเวณต่างๆ ในโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ
และปริมณฑลซึ่งสามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำตามคลองไม่ให้ไหลบ่า
เข้ามาท่วมกรุงเทพฯ ชั้นในและพื้นที่เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
5. การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ทรงให้ขุดคลองระบายน้ำภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและให้สามารถเพาะปลูกได้ และก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทำหน้าที่ควบคุมการเก็บกักน้ำในคลองและป้องกันน้ำท่วมจากบริเวณด้านนอกไม่ให้ไหลย้อนเข้าไปในพื้นที่
ตัวอย่างเช่น โครงการแก้มลิงเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
5. การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ทรงให้ขุดคลองระบายน้ำภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและให้สามารถเพาะปลูกได้ และก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทำหน้าที่ควบคุมการเก็บกักน้ำในคลองและป้องกันน้ำท่วมจากบริเวณด้านนอกไม่ให้ไหลย้อนเข้าไปในพื้นที่
ตัวอย่างเช่น โครงการแก้มลิงเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
“...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปลอกเปลือกแล้วเอา
เข้าปากเคี้ยวๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้ง
แก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจะนำออกมา
เคี้ยวและกลืนเข้าไปภายหลัง ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรือ
อาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ จึงเป็นพฤติกรรม
ตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง
บริเวณทิศตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา...”